
วรรณกรรม เป็นการบันทึกเรื่องราวโดยถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษรโดยแต่ละภูมิภาคจะมีลักษณะการเขียนที่แตกต่างกัน โดยจะสะท้อนถึงสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงการใช้ภาษาที่โดดเด่นของแต่ละภูมิภาค
แต่ในวันนี้เราจะพามาสัมผัสกับ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มีงานเขียนที่โดดเด่นเพราะเราจะสังเกตได้จากวรรณกรรมแต่ละชิ้นงานของทางภาคกลาง จะมีการบ่งบอกถึงความสนุกสนานและความอุดมสมบูรณ์ของอาหารการกินรวมถึงธรรมชาติที่สมบูรณ์
หากเราได้อ่าน วรรณกรรมท้องถิ่นของทางภาคกลาง …
จะทำให้เราทราบได้ว่าในยุคหนึ่งความเป็นอยู่ของคนภาคกลางมีความสุข สดใสและสนุกสนาน ถูกถ่ายทอดออกมาอยู่ภายในวรรณกรรม ซึ่งประเภทของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น
- วรรณกรรมประเภทกลอนสวดที่มีการประพันธ์ด้วยกาพย์ยานี
- ฉบังและสุรางคนางค์ ในบางครั้งเรียกว่าคำกาพย์
เพราะในบางช่วงเวลาประชาชนจะมีการเข้าวัดทำบุญในวันพระและวันสำคัญทางศาสนาเพื่อถือศีลอุโบสถ เมื่อเสร็จพิธีจะทำการฟังสวด หรือหนังสือนิทานที่มีการอ่านวรรณกรรมประเภทนิทานที่มีทำนองไพเราะเสนาะหูเพื่อให้ประชาชนได้เพลิดเพลินกับคติธรรม สำหรับวรรณกรรมประเภทกลอนสวดที่มีชื่อเสียงเช่น สังข์ศิลป์ชัย โสนน้อยเรือนงาม
ประเภทบทละครนอก
ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่มาในการประพันธ์ออกมาเป็นตอนๆเพื่อใช้ในการเล่นละคร โดยการเล่นละครนอกเป็นการแสดงพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในสมัยอยุธยาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น พร้อมทั้งอย่างแพร่กระจายไปในชีวิตประจำวันของชาวบ้านตามพื้นที่ต่างๆในภาคกลาง
วรรณกรรมประเภทบทละครนอกที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น เช่น นิทานชาดกที่มีคติสอนใจอย่างเรื่อง พิกุลทอง มโนราห์ โม่งป่า พิมพ์สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ สุวรรณศิลป์ สุวรรณหงส์ และโสวัต สำหรับละครนอกที่ได้รับความนิยมในยุครัตนโกสินทร์เป็นบทพระราชนิพนธ์ละครนอกในรัชกาลที่ 2เช่น ไชยเชษฐ์ ไกรทอง คาวี สังข์ทอง
ประเภทกลอนนิทาน
โดยส่วนใหญ่มักจะมีการประพันธ์จนจบเรื่องแตกต่างจากบทละครนอกที่นิยมแบ่งเป็นตอนๆ โดยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางประเภทกลอนนิทานเป็นที่แพร่หลายมากในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 เพราะเป็นยุคที่โรงพิมพ์มีความเจริญรุ่งเรืองและประชาชนในยุคนั้นนิยมซื้อหนังสือกลอนนิทานมาอ่าน
ทำให้เราได้ทราบข้อมูลในยุคนั้นวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นภาคกลางลดการนั่งชมมหรสพเปลี่ยนมาเป็นการอ่านหนังสือ
ประเภทกลอนแหล่
เป็นการอ่านทำนองเสนาะที่ใช้เสียงขึ้นลงได้อย่างไพเราะ มีการร้องเพลงเป็นจังหวะโดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีจดจำบทกลอนแหล่ โดยไม่มีการบันทึกไว้ นอกเหนือจากกลอนแหล่ จากสิ่งที่มีข้อมูลมายังสามารถเปลี่ยนบรรยากาศและสร้างความเพลิดเพลินใจให้กับผู้ฟัง
โดยกรณีของกลอนแหล่ ถือเป็นสิ่งเดียวที่พระภิกษุสามารถทำได้โดยไม่ผิดศีล
เราจึงมักพบเห็นการแหล่ให้พรโดยพระภิกษุสงฆ์เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจให้แก่ญาติโยมรวมทั้งเป็นการสอนธรรมะไปในตัว
ตัวอย่างวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่ยังคงได้รับความนิยม
พิกุลทอง เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมนำมาในการเล่นละครนอกในช่วงสมัยอยุธยาและเรายังได้ค้นพบว่าต้นฉบับตัวเขียนของวรรณกรรมเรื่องนี้ รอดพ้นจากการถูกทำลายในช่วงที่เสียกรุงโดยตัวต้นฉบับตัวเขียนถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีที่หอสมุดแห่งชาติและได้ถูกบันทึกอยู่ในสมุดข่อยสีขาว ใช้ตัวหมึกสีดำ โดยมีลายมือในการบันทึก เรื่องพิกุลทองว่าเป็นหมู่กลอนบทละคร โดยเนื้อหาของเรื่องพิกุลทองเป็นเรื่องราวการผจญภัยที่รวบรัดตัดตอน อาจจะใช้ภาษาไม่สละสลวยมากนักแปลเพราะมุ่งเน้นการประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละครเท่านั้น
สังข์ศิลป์ชัย เป็นวรรณกรรมชั้นยอดอีกหนึ่งเรื่องของไทยและลาว โดยเรื่องนี้ได้ประพันธ์ขึ้นโดยเจ้าปางแห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู (ชื่อเดิม) ภายในเรื่องมีการใช้สำนวนที่สวยงามไพเราะและมีความหมายถึงแม้ในบางบทจะใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพเพื่อแสดงออกถึงความโกรธแค้นของตัวละครแต่ภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดกลับมีความสละสลวย โดยหนังสือเล่มนี้มีการให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างละเอียด เนื่องจากผู้แต่งมีความรู้ในการใช้ภาษาบาลีและสันสกฤต รวมถึงประเพณีโบราณทางศาสนาจึงถูกการกรองความรู้และความคิดลงในบทประพันธ์ได้เป็นอย่างดี
ปลาบู่ทอง เป็นอีกหนึ่งวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันได้มีการเล่าเรื่องผ่านบทร้อยแก้วและร้อยกรองที่มีการประพันธ์สำนวนได้อย่างไพเราะ สำหรับงานเขียนยังมีการสอดแทรกเรื่องความดีและความกตัญญูอยู่ภายในบทวรรณกรรม พร้อมการนำความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามามีส่วนเพื่อเป็นคำสอนให้กับผู้อ่าน ต้องยอมรับเรื่องปลาบู่ทองเป็นอีกหนึ่งวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมและมีการนำมาสร้างละครทางโทรทัศน์อยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งมีการตีพิมพ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์จนถึงทุกวันนี้ จึงทำให้สังคมไทยมีความคุ้นเคยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางเรื่องปลาบู่ทองเป็นอย่างดี
วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง นอกจากจะทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจในยุคสมัยที่ผ่านมารวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของทางภาคกลางแล้วยังทำให้เราได้เสพงานศิลป์ผ่านตัวอักษรที่คนในอดีตสร้างสรรค์ผลงานไว้
เห็นได้จากบทร้อยแก้ว-ร้อยกรองที่เลือกใช้สำนวนพิถีพิถันไพเราะจนเห็นได้ว่าประเทศไทยของเรานั้นมีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่สวยงามควรค่าแก่การสืบสานให้อยู่คู่กับประเทศอย่างยาวนาน